ETAT Glossary
# A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Z ก ข ค ง จ ช ซ ฐ ด ต ท ธ น บ ป พ ฟ ภ ม ร ว ส ห อ เ แ โ ไ | Submit a name
There are currently 12 names in this directory beginning with the letter ห.
หน่วยเทอร์มินัลระยะไกล (RTU)
(RTU) Remote Terminal Unit หรือ Remote Telemetry Unit ในบางครั้ง นี่คือไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในการส่งข้อมูลทางไกลกลับจากภาคสนามและเพื่อควบคุมอุปกรณ์ภาคสนาม พวกมันมักจะกระจายตัวกันอย่างกว้างขวางตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และใช้การสื่อสารไร้สายที่หลากหลายตามนั้น พวกเขาสามารถเรียกใช้โปรแกรมลอจิกความปลอดภัยอย่างง่ายสำหรับความซ้ำซ้อนและเพื่อลดความล่าช้าในการควบคุม
หัวไหล่ของแขนหุ่นยนต์
เป็นแกนแรกหรือแกนที่สองของหุ่นยนต์ ใช้อธิบายถึงหัวไหล่ของหุ่นยนต์ที่มีรูปร่างเหมือนมนุษย์หรือหุ่นยนต์สองแขน
หุ่นยนต์
ถูกออกแบบมาเพื่อเคลื่อนย้ายวัสดุ ส่วนประกอบ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์เฉพาะ ผ่านการควบคุมการเคลื่อนไหว
หุ่นยนต์พิกัดฉาก
โครงสร้างของหุ่นยนต์ประกอบด้วยข้อต่อแบบเลื่อน 3 ตัว เพื่อกำหนดตำแหน่งของตัวทำงานส่วนปลายจากการเลื่อนของข้อต่อในพิกัดฉาก ส่วนต่อของตัวทำงานส่วนปลายอาจเสริมด้วยข้อต่อแบบหมุนเพื่อช่วยในการกำหนดทิศทางให้กับตัวทำงานส่วนปลาย
หุ่นยนต์พิกัดทรงกระบอก
หุ่นยนต์ที่มีข้อต่อโรตารีอย่างน้อย 1 จุดที่ฐาน เพื่อทำการหมุนปรับทิศทาง แขนจับวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยกระบอกนิวแมติก นิยมใช้ในงานประกอบชิ้นส่วน วิธีการเชื่อมจุด รวมถึงการจัดการเคลื่องมือกล
หุ่นยนต์พิกัดทรงกลม
หุ่นยนต์ที่ประกอบด้วยข้อต่อโรตารีอย่างน้อย 2 จุด และจุดเชื่อมต่อแบบขนานอย่างน้อย 1 จุด การทำงานเป็นรูปแบบตายตัวเนื่องจากมีมุมขยับและมิติองศาที่ถูกกำหนดไว้อยู่แล้ว
หุ่นยนต์สการ่า
หุ่นยนต์ที่มีความโดดเด่นเรื่องความคล่องแคล่วรวดเร็วแต่มีข้อจำกัดสำหรับระยะการปฏิบัติการณ์ มีข้อต่อขนานกัน 2 จุด เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนที่ต้องการความรวดเร็วและมีขนาดเล็ก สิ่งสำคัญสำหรับการใช้งาน หุ่นยนต์สการ่า คือ การออกแบบระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงจากการคำนวณรูปแบบการทำงาน สามารถใช้งานได้ดีกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
หุ่นยนต์อาทิคิวเลท
หุ่นยนต์ที่ประกอบด้วยข้อต่อโรตารีตั้ง 3 จุดขึ้นไปและอาจมีมากได้ถึง 10 จุด โดยมากมักพบเจอ หุ่นยนต์อาทิคิวเลท แบบ 6 แกน สามารถใช้ในสายการผลิตได้อย่างหลากหลายด้วยมิติองศาการทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระ รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้งานได้ตามลักษณะของสายการผลิตได้อย่างเหมาะสม รองรับขนาดชิ้นส่วนได้หลากหลายขึ้นกับศักยภาพของรุ่นจากแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันอุตสาหกรรมนิยมใช้งานหุ่นยนต์ประเภทนี้
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานด้านการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ในการผลิต สามารถสั่งการทำงานให้เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระตามรูปทรงของหุ่นยนต์
Submit a name